ทฤษฎีสัญญาณรบกวนทางใจ (Mental-noise hypothesis) ของ วิตกจริต

งานวิจัยต่าง ๆ พบว่า เวลาตอบสนองมัชฌิมของบุคคลที่มีความวิตกจริต ในระดับสูงจะไม่ต่างกับบุคคลที่มีในระดับต่ำแต่ว่า คนที่มีความวิตกจริต ในระดับสูงจะมีค่าความผันแปร (variability) ของการตอบสนองในระหว่างการทดสอบมากกว่า โดยสะท้อนให้เห็นในค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของเวลาการตอบสนองกล่าวอีกอย่างก็คือ ในการทดสอบบางคราว คนที่มีอารมณ์ไม่เสถียร จะตอบสนองเร็วกว่าค่ามัชฌิมมาก แต่ในการทดสอบอื่น ๆ ก็จะช้ากว่ามากนักจิตวิทยาได้เสนอว่า ความผันแปรเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณรบกวน (noise) ในระบบประมวลข้อมูลของบุคคล หรือถึงความไม่เสถียรของการทำงานทางประชานขั้นพื้นฐานเช่นในระบบควบคุม และสัญญาณรบกวนเช่นนี้มีแหล่งเกิด 2 แหล่ง คือ การมีใจหมกหมุ่น (preoccupation) และกระบวนการไวตอบสนองต่าง ๆ (reactivity process)[34]

งานปี 2007 ศึกษาสัญญาณรบกวนในพฤติกรรมชีวิตประจำวันโดยใช้แบบคำถามวัดความขัดข้องทางประชาน (Cognitive Failures Questionnaire) ซึ่งเป็นการวัดแบบแจ้งเองของความถี่ที่เกิดการ "slip" (ผิด) และ "lapse" (พลาด) ของการใส่ใจ (และทั้งสองเป็นความขัดข้องทางประชาน)โดยการ "ผิด" เป็นการทำผิด และการ "พลาด" เป็นการไม่ได้ทำแล้วตรวจสอบว่ามีสหสัมพันธ์กับระดับวิตกจริต วัดโดย BIS/BAS scales และ Eysenck Personality Questionnaire หรือไม่นักวิจัยพบว่า คะแนนส่วน CFQ-UA (Cognitive Failures Questionnaire-Unintended Activation) ที่แสดงการทำงานที่ไม่ได้ตั้งใจ มีระดับสหสัมพันธ์สูงสุดกับความวิตกจริต (r = .40) เทียบกับค่าสหสัมพันธ์กับ CFQ โดยรวม (r = .26) ที่อยู่ในระดับสำคัญ หรือเทียบกับส่วนย่อยของ CFQ อื่น ๆนักวิจัยเสนอว่า ผลที่พบ บอกเป็นนัยถึงความเป็นธรรมชาติจำกัดเฉพาะพิเศษของสัญญาณรบกวน ที่สัมพันธ์มากที่สุดกับการ "ผิด" ของการใส่ใจ ลั่นไกภายในโดยระบบความจำเชื่อมโยง (associative memory)หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ อาจจะบอกเป็นนัยว่า สัญญาณรบกวนทางใจ โดยมากเป็นการทำงานทางประชานที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำ เช่น ความกังวลใจหรือการมีใจหมกหมุ่น[35]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิตกจริต http://www.amazon.com/Shell-Shock-Traumatic-Neuros... http://books.google.com/?id=1gJPXv5wQbIC&pg=PA288&... http://books.google.com/books?id=9eFaAAAACAAJ http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.springerlink.com/content/h011745713t7l2... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1213942... http://online.wsj.com/article/SB122211987961064719... http://tu-dresden.de/die_tu_dresden/fakultaeten/fa... http://www.bradley.edu/dotAsset/165918.pdf